ประวัติความเป็นมา ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ที่ตั้ง
อาคารคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนรเศวร ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
ประวัติ
ภาควิชาสรีรวิทยาได้ถือกำเนิดมาพร้อมๆ กับการก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
โดยมีการพัฒนาจาก สาขาวิชาเป็นภาควิชา ดังนี้
พ.ศ. 2538 โครงการจัดตั้งสาขาวิชาสรีรวิทยา โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์
พ.ศ. 2539-2540 สาขาวิชาสรีรวิทยา โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
พ.ศ. 2541-2543 สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์
พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
ปัจจุบันห้องพักคณาจารย์ภาควิชาสรีรวิทยาอยู่ที่ห้อง MD 412 ชั้น 4 อาคารคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในด้านการเรียนการสอน ปี พ.ศ. 2539 ภาควิชา ได้รับผิดชอบสอนรายวิชาสรีรวิทยาการแพทย์ 1 และ 2 ให้ กับนิสิตคณะแพทยศาสตร์รุ่นที่ 1 เป็นชั้นเรียนแรก โดยเชิญคณาจารย์พิเศษจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มาช่วยสอน และมีอาจารย์ประจำสาขาวิชา เป็นผู้ประสานงาน และจัดเตรียมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปด้วย ความเรียบร้อย ในระยะต่อมาได้รับสอนนิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร ์ สหเวชศาสตร์ เภสัชศาสตร์เพิ่มขึ้น กอปรกับภาควิชาได้มีการพัฒนา บุคลากรในภาควิชาไปพร้อมกันกับทุนที่ทบวง มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยจัดสรรให้จึงทำให้อาจารย์ในภาคหมุนเวียนกันไป ศึกษาต่อลักษณะ การเรียนการสอนของ ภาควิชาจึงยังคงเป็นลักษณะการเชิญ อาจารย์พิเศษสอนอยู่ โดยสัดส่วนการเชิญอาจารย์พิเศษ ขึ้นอยู่กับจำนวนอาจารย์ที่ปฏิบัติงานในภาควิชา อาจารย์ที่เชิญ มาในช่วงปี 2540-2544 เป็นคณาจารย์ชุดแรก ร่วมกับคณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนกระทั่งถึง ปี 2544 ที่ภาควิชาสามารถสอนรายวิชาทั้งหมดได้ด้วยตนเองโดยเชิญอาจารย ์พิเศษเพียง 1 คน อย่างไร ก็ตามในปี พ.ศ.2545 การเรียนการสอนในบางรายวิชาจะยังคงเชิญอาจารย์พิเศษอยนอกจากภาระงานสอน ในคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์อาจารย์บางท่านยังช่วยสอนวิชาสรีรวิทยาให้กัหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และหลักสูตรพยาบาลต่อเนื่องของ วิทยาลัยพยาบาลอื่นๆในเขตภาคกลางตอนบนด้วยการเรียนการสอนในภาควิชาสรีรวิทยานับแต่เริ่มก่อตั้งจนถึง ปัจจุบันดำเนินไปได้ด้วยดีด้วยความช่วยเหลือ ของอาจารย์พิเศษทุกท่านและความเสียสละ อดทน ทำงานหนัก ของคณาจารย์ประจำภาควิชา ในช่วงระยะเวลาต่างๆ ปัจจุบันภาควิชา มีอาจารย์ประจำทั้งหมด 19 คน ผู้ประสานงานภาควิชา จำนวน 1 คน และมีนักวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 คน